สอนการเงินกับลูกอย่างไร

20130108-085338.jpg

เด็กควรจะเรียนรู้ถึงค่าของเงินอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
โดยต้องทราบก่อนว่า
เงิน เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการสะดวกขึ้น
และการหาเงินได้ เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ต้องใช้กำลังกาย กำลังสมอง
หรือกำลังทรัพย์ในการหาแต่เงินก็ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต
ดังนั้น เราจึงต้องฝึกที่จะเป็นนายของเงิน คือรู้ค่า ใช้เป็น รู้เก็บ รู้ออม
รู้จักลงทุนการเรียนรู้เรื่องการเงินนี้ต้องสอนที่บ้านค่ะ

ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องค่าของเงิน
ตำราฝรั่งบอกว่า ให้เริ่มสอนเมื่อเด็กนับได้ค่ะ พอเริ่มนับได้ก็ให้ทำความรู้จักกับเหรียญและ
ธนบัตรขนาดต่างๆ ก่อนเข้าโรงเรียนก็ฝึกให้ใช้เงิน ทอนเงินพูดถึงทอนเงิน
ตอนเพิ่งเริ่มเรียนประถมปีที่หนึ่ง ดิฉันช่วยคุณตาขายของ ลูกค้ามาซื้อของ 2.50 บาท
ให้ธนบัตรใบละ 10 บาทมา ดิฉันคิดเลขในใจอยู่นาน ทอนเงินไป 8.50 บาท
ลูกค้าเดินไปแล้วดิฉันถึงรู้ตัวว่าทอนผิด หลังจากนั้นคิดเลขลบที่มีเศษทศนิยมเก่งขึ้นค่ะ

ผู้ปกครองต้องสื่อสารเรื่องเงินกับเด็ก โดยใช้โอกาสในชีวิตประจำวัน เช่น การให้เงินค่าขนม
ควรให้เป็นเงินปลีกหรือเหรียญที่จูงใจให้เด็กเก็บออม ยกตัวอย่าง ค่าขนม 20 บาท
อาจจะให้เหรียญสิบบาท เหรียญห้าบาท และเหรียญหนึ่งบาทอีก 5 เหรียญ
เผื่อให้เด็กเก็บออมสัก 2-3 บาท เอาไว้หยอดกระปุกถามว่าค่าขนมควรจะให้ในอัตราเท่าใด
อันนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย คือ อายุของเด็ก ซึ่งแน่นอนว่าต้องให้เพิ่มขึ้นตามอายุ
และขึ้นอยู่กับว่าให้เงินจ่ายค่าอะไรบ้างด้วย หากจ่ายค่าขนมอย่างเดียวเพราะโรงเรียน
มีอาหารกลางวันให้แล้ว ก็ให้น้อยหน่อย หรือหากเป็นวัยรุ่น ต้องการให้ดูแลเรื่องอาหาร
และค่าเสื้อผ้า ค่าเดินทาง ค่ากิจกรรมด้วย ก็ต้องให้มากหน่อย
ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับฐานะของท่านด้วยนะคะ ไม่จำเป็นต้องให้เท่าๆ กับที่เพื่อนของลูกได้รับ
หากเรามีรายได้น้อย ลูกของเราก็ควรจะตระหนักและรับสภาพว่าต้องใช้น้อยด้วยค่ะ

 

20130108-085444.jpg

เมื่อโตขึ้น ควรหาโอกาสพาเด็กไปจ่ายตลาด ซื้อของ ฝึกให้รู้จักการเลือก
การคำนวณเทียบราคาต่อหน่วย เด็กๆ ดิฉันเรียนวิชาคหกรรมศาสตร์ ครูให้จดวิธีเลือกซื้ออาหาร
เช่น เนื้อหมูสีชมพู ไก่ให้ดูที่อกขาวๆ ปลาต้องมีตาใส แถมยังสอนแหล่งผลไม้อร่อยให้ด้วย
คือ ลางสาดอุตรดิตถ์ ลำไยเชียงใหม่ น้อยหน่าปากช่อง เงาะนาสาร ส้มโอนครชัยศรี
ลองกองตันหยงมาส ทุเรียนก้านยาวเมืองนนท์ (เดี๋ยวนี้หายากเต็มที)

รู้จักเปรียบเทียบและเลือกซื้อ เมื่อจะหาซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือของใช้ในบ้านชิ้นใหญ่
ควรให้เด็กเข้ามามีส่วนในการรับรู้ ช่วยจด ช่วยเปรียบเทียบ
จะทำให้เขาเรียนรู้ไปในตัวว่าเพิ่มฟังก์ชันก็ต้องเพิ่มเงิน
อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการฝึกตัวเองให้เปรียบเทียบก่อนซื้อด้วยค่ะ
ไม่จำเป็นต้องเป็น full options ถ้าเราไม่ได้ใช้ฟังก์ชันบางอย่าง เราอาจจะเลือกรุ่นพื้นฐาน
เพื่อประหยัดเงินได้ให้โอกาสเด็กในการตัดสินใจซื้อ เริ่มจากของเล็กๆ น้อยๆ ก่อน แล้วค่อยปรับเป็นใหญ่ขึ้น

การตัดสินใจซื้อเป็นบทเรียนที่ดี เด็กจะเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และกล้าตัดสินใจ
ดิฉันเลือกซื้อของเก่งเพราะได้โอกาสตัดสินใจซื้อเยอะมากมาตั้งแต่เด็กค่ะสอนเด็กเรื่องดอกเบี้ย
ทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ดิฉันก็ถูกพ่อจูงใจด้วย ธนาคารคุณพ่อ อัตราดอกเบี้ยทบต้น 100%
คือฝาก 10 บาท เวลาถอนคืนได้ 20 บาท เห็นแบบนี้ก็ตาโต อยากเก็บเงินไปฝากแทนที่จะนำไปใช้จ่ายแล้วค่ะ
และเมื่อถึงเวลา ก็ควรพาไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารเพื่อออมเงิน
สอนให้ดูตัวเลขเงินฝากที่เพิ่มพูนขึ้นในทางกลับกันก็ต้องสอนเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ด้วยว่า
เมื่อเงินไม่พอที่จะซื้อของชิ้นใหญ่ บางครั้งเราก็จำเป็นต้องกู้เงิน และต้องเสียดอกเบี้ย
หากเราไม่กู้ เราก็มีอีกทางเลือกหนึ่งคือเก็บเงินให้พอก่อนซื้อผู้ปกครองต้องทำตัวเป็นตัวอย่างด้วยนะคะ

ไม่ใช่สอนเด็กให้เก็บเงินเพื่อซื้อของ แต่ตัวเองก็ผ่อนไปหมดทุกอย่าง หากจำเป็นต้องซื้อเงินผ่อน
ให้ถือโอกาสคำนวณให้เด็กดูว่า เครื่องรับโทรทัศน์หรือ ทีวี ราคา 9,999 บาทที่จะซื้อนั้น
หากซื้อเงินสดก็ชำระเพียง 9,999 บาท หากผ่อนชำระต้องชำระเดือนละ 999 บาท เป็นเวลา 12 เดือน
ต้องจ่ายเงินทั้งหมดรวม 11,988 บาท เงิน 1,989 บาทที่เพิ่มขึ้นมาคือดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะดูไม่มาก
แต่ก็คิดเป็นอัตราประมาณ 20% เลยทีเดียว หากเก็บเงินเดือนละ 999 บาท 10 เดือนก็สามารถซื้อได้เช่นกัน
ประหยัดดอกเบี้ยได้ 1,989 บาท สามารถเอาไปซื้ออย่างอื่น หรือออมไว้เพื่ออนาคตได้

สอนเด็กให้ทำบัญชีรับ-จ่าย การทำบัญชีเป็นการรวบรวมข้อมูล ทำให้เห็นภาพรวมได้ง่ายและสะดวกขึ้น
เมื่อถึงช่วงหนึ่งก็สรุปยอด เสมือนการถ่ายรูปเอาไว้ดู ดิฉันเก็บของแล้วพบบัญชีรับ-จ่ายของตัวเองสมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ
ยังนึกถึงความหลังสมัยเริ่มออมเงิน หากไม่มีการจดบัญชีรับ-จ่ายและทำงบการเงินส่วนบุคคล
ก็จะไม่ทราบว่าเงินของตัวเองหายไปกับอะไรหมดทุกๆ เดือน ทำให้ไม่สามารถวางแผนลดรายจ่าย หรือเก็บออมได้ค่ะ

สอนให้รู้จักวิธีการใช้ ประโยชน์ และโทษของบัตรเครดิต แต่อย่าให้บัตรเครดิตกับเด็ก
โดยส่วนตัวดิฉันเห็นว่าผู้เริ่มทำงาน มีรายได้แล้วเท่านั้นที่ควรจะมีบัตรเครดิต
เยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนยังไม่ควรมี ยกเว้นแต่กลุ่มที่เรียนหนังสืออยู่ไกลจากบ้าน
เช่น ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ แต่ก็ต้องจำกัดวงเงินไว้ไม่ให้สูงจนเกินไป
เพราะอาจจะเพาะนิสัยการใช้เงินที่ไม่ดีได้ฝึกให้จัดทำงบประมาณเอง เริ่มจากรายสัปดาห์ก่อน
แล้วจึงเป็นรายเดือน จะทำให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ รู้จักการวางแผน ฝึกดีๆ
ท่านอาจจะมีลูกหลานเป็นนักการเงินแบบดิฉันก็ได้นะคะ ดิฉันถูกฝึกให้จัดการงบประมาณมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบค่ะ

ท้ายที่สุด อยากจะฝากให้ฝึกเด็กให้รู้จัก การให้ ให้เพื่อทำนุบำรุงศาสนา ผ่านการ ทำบุญ
ให้กับผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า ผ่านการ บริจาค ให้กำลังกายและกำลังใจกับสังคม ด้วยการมี จิตอาสา
ให้กับผู้ที่ล่วงเกิน ด้วยการ ให้อภัย ให้กับสิ่งแวดล้อมและโลกที่เราอาศัยอยู่ ด้วยการ ประหยัด ใส่ใจ
และเอื้ออารีการให้ และ การ สละบริจาค จะช่วยแก้ไข ความโลภ ให้หายไปจากจิตใจค่ะ

 

ที่มาจาก บทความ ceo blog
คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ
กรุงเทพธุรกิจ

http://ibabysecret.com

READ  ปลุกสมองซีกขวา